เมนู

2. โภคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยโภคะ
3. อาโรคยสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค
4. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
5. ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุ
แห่งโภคสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อม
จะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะ
เหตุสีลสัมปทา หรือ เพราะเหตุแห่งทิฏฐสัมปทา สัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.

[290] โทษแห่งศีลวิบัติ 5


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึง
ความเสื่อมแห่งโภคใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของ
คนทุศีลข้อที่หนึ่ง.
2. เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมระบือไป นี้
โทษแห่งศีลวิบัติของตนทุศีลข้อที่สอง.
3. คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท
พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม.
4. คนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมเป็นคนหลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติ
ของตนทุศีลข้อที่สี่.
5. คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติขอคนทุศีลข้อที่ห้า.

[291] อานิสงฆ์แห่งศีลสมบัติ 5


1. ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อม
ประสบกองแห่งโภคใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีล
สมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง.
2. เกียรติศัพท์ที่ดีงามของตนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อม
ระบือไป นี้เป็นอานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง.
3. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด ๆ คือ ขัตติย-
บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของตนมีศีลข้อที่สาม.
คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ นี้
อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่.
5. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่ห้า.
[292] ธรรมสำหรับโจทก์ 5
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น
พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น คือ
1. เราจักกล่าวโดยกาลอันสมควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
2. เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง
3. เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวคำหยาบ
4. เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำ
ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
5. เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน.